ข้ามไปเนื้อหา

นีล อาร์มสตรอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นีล อาร์มสตรอง
ภาพถ่ายของนีล อาร์มสตรอง ค.ศ. 1969
นีล อาร์มสตรอง ก.ค. 1969
เกิด5 สิงหาคม ค.ศ. 1930(1930-08-05)
วาปักโอเนตา รัฐโอไฮโอ สหรัฐ
เสียชีวิตสิงหาคม 25, 2012(2012-08-25) (82 ปี)
ซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ สหรัฐ
สัญชาติอเมริกัน
ชื่ออื่นนีล อัลเดน อาร์มสตรอง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเพอร์ดู
มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย
รางวัลPresidential Medal of Freedom Congressional Space Medal of Honor
อาชีพในอวกาศ
ทหารเรือสหรัฐ / นักบินอวกาศนาซา
อาชีพก่อนหน้า
นักบินทหารเรือ, นักบินทดสอบ
อยู่บนอวกาศ
8 วัน, 14 ชั่วโมง, 12 นาที 30 วินาที
การคัดเลือก1958 USAF Man In Space Soonest
1960 USAF Dyna-Soar
1962 NASA Group 2
ปฏิบัติการนอกยาน
1
เวลาปฏิบัติการนอกยาน
2 ชั่วโมง 31 นาที
ภารกิจเจมินี 8, อะพอลโล 11
เครื่องหมายภารกิจ

เรือโท นีล ออลเดน อาร์มสตรอง (อังกฤษ: Neil Alden Armstrong; 5 สิงหาคม ค.ศ. 193025 สิงหาคม ค.ศ. 2012) เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก

ประวัติ

[แก้]

นีล อาร์มสตรอง เกิดที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการขับเครื่องบินมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เรียนการขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 15 ปีแล้วได้รับใบอนุญาตนักบินเมื่อตอนอายุ 16 ปี และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี ค.ศ. 1962 และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล และยังเคยเป็นนักบินในกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี

ในปี ค.ศ. 1969 เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์

เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์

That's one small step for [a] man, one giant leap for mankind.
นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ[1]

วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ[2] ขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่าเป็น "บุรุษชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่เพียงแค่ในช่วงเวลาของเขาเท่านั้น แต่เป็นตลอดกาล"[3]kin gay

การเยือนประเทศไทย

[แก้]

นีล อาร์มสตรอง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ หนึ่งในสถานที่มาเยือนนั้นคือที่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ในต้นฤดูฝน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) มีนักเรียนชื่อ อรนุช ภาชื่น (ปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ ดร.อรนุช ภาชื่น อดีตอาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), พรเพ็ญ เพียรชอบ (ปัจจุบันคือ พรเพ็ญ อินทร์ทอง) และเพื่อนรวม 6 คน ได้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษส่งไปยังนีล อาร์มสตรอง ซึ่งแปลความเป็นภาษาไทยได้ว่า "เราต้องการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอะพอลโล 11 และคิดว่านักบินอวกาศจะเป็นผู้สามารถเล่าให้เราฟังได้มากที่สุดและดีที่สุด" ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ หลังการประสานงาน เมื่อสำนักงานข่าวสารอเมริกัน ก็บรรจุโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ไว้ในรายการเยือนประเทศไทยอีกจุดหนึ่งด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 1969 (พ.ศ. 2512) นีล อาร์มสตรอง กลับจากดวงจันทร์ไม่นาน ก็ได้มายืนถ่ายรูปกับครูและนักเรียน ณ โรงเรียนประจำจังหวัดในภาคอีสาน นามว่า "ร.ร.สิรินธร จ.สุรินทร์" [4]

ในการเดินทางมายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตราภรณ์ช้างเผือก ให้แก่เขาด้วย[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mikkelson, Barbara; David Mikkelson (October 2006). "One Small Misstep: Neil Armstrong's First Words on the Moon". Snopes.com. สืบค้นเมื่อ September 19, 2009.
  2. "Space legend Neil Armstrong dies". CNN. สืบค้นเมื่อ August 26, 2012.
  3. นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์. มติชนสุดสัปดาห์. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1672. วันที่ 31 สิงหาคม - 6 กันยายน พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8196. หน้า 104
  4. "นีล อาร์มสตอง เคยมาเยือน ร.ร.สิรินธร เมื่อปี 2512". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-09-13.
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]