กลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย
ภาพกลุ่มค.ศ. 2012 | |
ประเภท | อนาธิปไตยของผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคล, คณะ, กลุ่มผู้ใช้ และองค์กรเฉพาะกิจ |
---|---|
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บริการ | ผู้เขียนและบรรณาธิการวิกิพีเดีย, วิกิพจนานุกรม, วิกิมีเดียคอมมอนส์, วิกิสนเทศ, วิกิคำคม, วิกิตำรา, วิกิซอร์ซ, วิกิสปีชีส์, วิกิข่าว, วิกิวิทยาลัย และวิกิท่องเที่ยว การพัฒนาซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ |
เว็บไซต์ | meta |
กลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย (อังกฤษ: Wikimedia movement) หรือ วิกิมีเดีย เป็นชุมชนทั่วโลกของผู้ร่วมให้การสนับสนุนโครงการมูลนิธิวิกิมีเดีย การเคลื่อนไหวเกิดขึ้นจากชุมชนของวิกิพีเดีย และได้ขยายไปสู่โครงการวิกิมีเดียอื่น ๆ รวมทั้งโครงการสามัญอย่างวิกิมีเดียคอมมอนส์และวิกิสนเทศ รวมทั้งอาสาพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีส่วนช่วยในมีเดียวิกิ อาสาสมัครเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงมูลนิธิวิกิมีเดีย, คณะที่เกี่ยวข้อง, องค์กรเฉพาะกิจ และกลุ่มผู้ใช้
ชื่อ "วิกิมีเดีย" เป็นผสมคำ ของวิกิและมีเดีย ซึ่งได้รับการบัญญัติโดยนักเขียนชาวอเมริกันชื่อเชลดอน แรมพ์ตัน ในโพสต์ในรายชื่อผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 [1] สามเดือนหลังจากที่วิกิพจนานุกรมกลายเป็นโครงการฐานวิกิที่สองที่จัดโดยแพลตฟอร์มของจิมมี เวลส์ และสามเดือนก่อนมูลนิธิวิกิมีเดียได้รับการประกาศและรวมเข้าด้วยกัน[2][3] ซึ่ง "วิกิมีเดีย" ยังอาจหมายถึงโครงการวิกิมีเดียเช่นกัน
ชุมชนวิกิพีเดีย
[แก้]ชุมชนวิกิพีเดียเป็นชุมชนของผู้มีส่วนร่วมในสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย ประกอบด้วยผู้แก้ไข (หรือผู้ร่วมให้ข้อมูล) และผู้ดูแลระบบที่รู้จักในฐานะแอดมิน ส่วนคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคณะกรรมการของผู้แก้ไขที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องอนุญาโตตุลาการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทสำคัญระหว่างผู้แก้ไขสารานุกรม คณะกรรมการมีอำนาจบังคับใช้บทลงโทษที่มีผลผูกพัน และกำหนดว่าผู้ใช้ใดสามารถเข้าถึงสิทธิพิเศษ
โครงการ
[แก้]โครงการวิกิมีเดียรวมถึง:
- วิกิพีเดีย เป็นสารานุกรมบนเว็บ
- วิกิพจนานุกรม เป็นพจนานุกรม
- วิกิตำรา เป็นตำราการศึกษา
- วิกิข่าว เป็นบทความข่าว
- วิกิคำคม เป็นการรวบรวมคำคม
- วิกิซอร์ซ เป็นห้องสมุดข้อความและเอกสารต้นฉบับ
- วิกิวิทยาลัย เป็นเนื้อหาการศึกษา
- วิกิท่องเที่ยว เป็นคู่มือท่องเที่ยว
- วิกิสปีชีส์ เป็นบัญชีรายชื่อการจัดหมวดหมู่ของสายพันธุ์
- วิกิมีเดียคอมมอนส์ เป็นที่เก็บข้อมูลของสื่อ เช่น รูปภาพ, วิดีโอ และเสียง ไฟล์เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยโครงการอื่น ๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันในชื่อ "คอมมอนส์"
- วิกิสนเทศ เป็นแหล่งข้อมูลทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงได้โดยโครงการอื่น ๆ
องค์กร
[แก้]มูลนิธิวิกิมีเดีย
[แก้]มูลนิธิวิกิมีเดีย (WMF) เป็นองค์กรการกุศลไม่แสวงผลกำไรสัญชาติอเมริกัน โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเจ้าของชื่อโดเมน และดำเนินการเว็บไซต์ของกลุ่มขับเคลื่อนเป็นส่วนใหญ่ เช่น วิกิพีเดีย ซึ่งเป็นโครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต รวมทั้งวิกิมีเดียคอมมอนส์
มูลนิธิวิกิมีเดียได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2003 โดยจิมมี เวลส์ อันเป็นการหาทุนให้วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องผ่านวิธีการที่ไม่แสวงหากำไร วัตถุประสงค์ของมูลนิธิคือ "... เพื่อให้อำนาจและดึงดูดผู้คนทั่วโลกในการรวบรวมและพัฒนาเนื้อหาการศึกษาภายใต้สัญญาอนุญาตเสรีหรือในโดเมนสาธารณะ และเผยแพร่อย่างมีประสิทธิภาพทั่วโลก"[2][4][5]
ตามงบการเงินปี ค.ศ. 2015 ของมูลนิธิวิกิมีเดีย ในปี ค.ศ. 2015 มูลนิธิวิกิมีเดียมีงบประมาณ 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีค่าใช้จ่าย 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการดำเนินงานดังกล่าว และเพิ่มทุนสำรองไว้ที่ 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] มูลนิธิวิกิมีเดียได้รับทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมากโดยการบริจาค โดยมีการบริจาคเฉลี่ยอยู่ที่ 15 ดอลลาร์[7]
คณะ
[แก้]คณะเป็นองค์กรที่สนับสนุนโครงการวิกิมีเดียในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ระบุ ซึ่งเป็นประเทศส่วนใหญ่ โดยมี 41 คณะ
วิกิมีเดียเยอรมนี (WMDE) เป็นคณะที่ใหญ่ที่สุด โดยมีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 20 ล้านยูโร วิกิมีเดียเยอรมนีจัดสรรประมาณ 1 ล้านยูโรเพื่อสนับสนุนนิติบุคคลที่รับผิดชอบสำหรับแจกจ่ายเงินบริจาค และ 4 ล้านยูโรสำหรับการโอนสู่มูลนิธิวิกิมีเดีย[8][9]
เพื่อให้มีกระบวนการเดียวกัน ทุกคณะจะทำตามขั้นตอนเดียวกันและของบประมาณรายปีที่คณะกรรมการแจกจ่ายกองทุน มูลนิธิเป็นเจ้าของโดเมนอินเทอร์เน็ตของหน้าโครงการได้ทำการขอส่วนแบ่งจากการบริจาคผ่านทางเว็บไซต์ในประเทศ (เช่น เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์) หรือจ่ายในคณะหนึ่ง (หรือคณะอื่น ๆ) ตามที่ตกลงกันไว้ รวมมูลค่าต่ำกว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านทางนี้สู่คณะและองค์กรเฉพาะกิจ[10] โดยฐานตามกฎหมายคือ "ข้อตกลงคณะ" กับมูลนิธิ[11]
องค์กรเฉพาะกิจ
[แก้]องค์กรเฉพาะกิจก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการวิกิมีเดียในขอบเขตสำคัญ ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งดังกล่าว[10][12]
กลุ่มผู้ใช้
[แก้]กลุ่มผู้ใช้มีข้อกำหนดที่ไม่เป็นทางการมากกว่าคณะและองค์กรเฉพาะกิจ พวกเขาสนับสนุนและส่งเสริมโครงการวิกิมีเดียภายในประเทศหรือในรูปแบบ, หัวเรื่อง, ประเด็น หรือปัญหาที่เฉพาะเจาะจง ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2016 มีกลุ่มผู้ใช้ 55 กลุ่ม[13] เมื่อได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสังกัดแล้ว พวกเขาจะเข้าสู่ "ข้อตกลงและแนวทางปฏิบัติของกลุ่มผู้ใช้" ร่วมกับมูลนิธิ[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rampton, Sheldon (March 16, 2003). "Wikipedia English mailing list message".
- ↑ 2.0 2.1 Jimmy Wales (June 20, 2003). "Announcing Wikimedia Foundation". mail:wikipedia-l. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
- ↑ Florida Department of State, Division of Corporations. Wikimedia Foundation, Inc. Record and Letters of Incoporation, Wikimedia Foundation, filed June 20, 2003
- ↑ Neate, Rupert (October 7, 2008). "Wikipedia founder Jimmy Wales goes bananas". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ October 25, 2009.
The encyclopedia's huge fan base became such a drain on Bomis's resources that Mr. Wales, and co-founder Larry Sanger, thought of a radical new funding model – charity.
- ↑ "Bylaws". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
- ↑ "WIKIMEDIA FOUNDATION, INC. Financial Statements, June 30, 2015 and 2014" (PDF). Upload.wikimedia.org.
- ↑ "Frequently Asked Questions". WikiMedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ "Wikimedia chapters - Meta". Meta.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
- ↑ "Jahresplan 2016 – Wikimedia Deutschland". Wikimedia.de (ภาษาเยอรมัน). 2015-11-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-05. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
- ↑ 10.0 10.1 "Template:APG navigation - Meta". Meta.wikimedia.org. 2016-09-05. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
- ↑ "Wikimedia chapters/Creation guide - Meta". Meta.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
- ↑ "Wikimedia movement affiliates/Frequently asked questions - Meta". Meta.wikimedia.org. 2016-09-15. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
- ↑ "Wikimedia user groups - Meta". Meta.wikimedia.org. 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.